ลวดลายในงานสถาปัตยกรรมไทย
ลายไทยในงานศิลปกรรม แบ่ง 3 ประเภท
1. ลายไทยในงานเชิงจิตรกรรม
2. ลายไทยในงานเชิงประติมากรรม
3. ลายไทยในงานเชิงสถาปัตยกรรม
ลายไทยในงานเชิงสถาปัตยกรรม เป็นลายที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม มีรูปแบบทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ซึ่งลายใน 2 มิติ มักจะอยู่ในรูปของจิตรกรรม
ภาพเขียน ลายประดับต่างๆ ลายฉลุไม้หรือลายประดับกระจก ลายฉลุปิดทอง ลายผนัง เสา ส่วนลาย 3 มิติ เป็นการออกแบบส่วนประดับตกแต่ง
ในงานสถาปัตยกรรม มีทั้งนูนต่ำ นูนสูง หรือเป็นทั้งลักษณ์ลอยตัวก็มีซึ่งเป็นการสร้างมิติของงานตกแต่งทางสถาปัตยกรรมไทยซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณ์ของศิลปะของชนชาติไทยที่สืบทอดต่อๆ กันมาแต่โบราณ
ลายดาวประจำยาม
ลายดาวประจำยาม มีลักษณะลายที่มาจากการลอกแบบธรรมชาติเป็นลักษณะลายดอก 4 กลีบคล้ายดอกบานเย็น เป็นลวดลาย
ประดับตกแต่งบริเวณท้องไม้หรือหน้ากระดาษ หรือเรียกว่า “ลายหน้ากระดาษ” การขึ้นรูปลายจะเริ่มจากทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสเดิม โบราณมักใช้ประดับตามมุมทั้งสี่ของเทวรูปซึ่งมีความหมายเท่ากับการประดับตามทิศมุมทั้งสี่ทิศให้เรียกกันว่าประจำยามและลายดาวประจำยาม
” สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ยังนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของจดหมายเหตุดาราศาสตร์อีกด้วย โดยความหมายของสัญลักษณ์
สัญลักษณ์ของจดหมายเหตุดาราศาสตร์ ประกอบด้วย อักษรย่อ “NARU” (NARIT Archives & Records Unit)
และ “ดาวประจำยาม” NARU มีอักษรเป็นสีน้ำเงินอันเป็นศิริมงคลด้วยแสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระอัจฉริยภาพทางด้านดาราศาสตร์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยโดยตำแหน่งของ “ดาวประจำยาม” อยู่ด้านบนขวาของอักษร N ซึ่งเป็นอักษรย่อของ NARIT แสดงนัยว่า NARIT เป็น North celestial pole คือ ขั้วฟ้าเหนือ ที่เป็นจุดอ้างอิงในการกำหนดวัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า สื่อความหมายว่า NARU ทำหน้าที่เป็นหน่วยรวบรวมข้อมูล เป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านดาราศาสตร์ที่มีคุณค่า และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ทางด้านดาราศาสตร์ของไทย
ขอบคุณที่มา
http://www.elca.ssru.ac.th/suriyun_ch/pluginfile.php/132/block_html/content/012%20ลายประดับ%201.pdf